Tag: สำนวนไทย ฒ.

  • รู้จักสำนวนเฒ่าทารก ที่มาและความหมาย

    รู้จักสำนวนเฒ่าทารก ที่มาและความหมาย

    สำนวนไทยหมวดหมู่ ฒ. เฒ่าทารก เฒ่าทารก หมายถึง สำนวน “เฒ่าทารก” หมายถึง ชายสูงวัยที่มีพฤติกรรมเหมือนเด็ก เอาแต่ใจ ไร้เหตุผล หรือขี้เล่น ไม่เคร่งขรึมสมวัย เปรียบเสมือนเด็กในร่างคนแก่ที่จิตใจยังไม่โตเต็มที่ แม้อายุจะมากแต่ยังมีนิสัยงอแง ดื้อรั้น หรือเล่นสนุกเหมือนเด็กเล็ก กล่าวคือ “คนแก่แต่ทำตัวเหมือนเด็กและมีนิสัยเกเร” นั่นเอง ที่มาของสำนวน มาจากตัวละครจิวแป๊ะทง ในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ซึ่งเป็นศิษย์น้องของเฮ้งเตงเอี้ยง และเป็นอาจารย์อาของเจ็ดบรรพชิตช้วนจิน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในห้ายอดฝีมือแห่งยุคที่ 2 นิสัยของจิวแป๊ะทงแตกต่างจากยอดฝีมือคนอื่น ๆ เพราะเขาขี้เล่น เอาแต่สนุกสนาน ไม่ยึดติดกับเรื่องราวของโลกภายนอก และมีพฤติกรรมคล้ายเด็ก ๆ แม้อายุจะมากแล้วก็ตาม ทำให้ได้รับฉายา “เฒ่าทารก” ซึ่งสะท้อนถึง คนที่แก่แล้วแต่ยังมีนิสัยแบบเด็ก ขี้เล่น หรือไม่เคร่งขรึมตามวัย ต่อมาสำนวนนี้ถูกนำมาใช้ในภาษาไทยเพื่อเปรียบเปรยชายสูงวัยที่ยังมีพฤติกรรมไม่สมวัย อาจหมายถึงคนที่ขี้เล่น เหมือนเด็ก หรือเอาแต่ใจ ไร้เหตุผล แล้วแต่บริบทของการใช้งาน ตัวอย่างการใช้สำนวน

  • รู้จักสำนวนเฒ่าหัวงู ที่มาและความหมาย

    รู้จักสำนวนเฒ่าหัวงู ที่มาและความหมาย

    สำนวนไทยหมวดหมู่ ฒ. เฒ่าหัวงู เฒ่าหัวงู หมายถึง สำนวน “เฒ่าหัวงู” หมายถึง ชายสูงวัยที่เจ้าชู้ ชอบหลอกล่อหรือจีบหญิงสาวที่อายุน้อยกว่า มักแสดงท่าทีล่วงเกินอย่างไม่เหมาะสม เปรียบเสมือน งูที่ซุ่มรอจังหวะเข้าตะครุบเหยื่อ ด้วยความเจ้าเล่ห์และเจตนาแอบแฝง กล่าวคือ “คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบายหลอกเด็กผู้หญิงในทางกามารมณ์” นั่นเอง ที่มาของสำนวน รากฐานจากความเชื่อเกี่ยวกับ งู ซึ่งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเล่ห์เหลี่ยม ความชั่วร้าย และกามารมณ์ ทั้งในคติความเชื่อตะวันตกและไทย ในฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ยุคก่อนคริสตกาล งูปรากฏในตำนานทางศาสนา เช่น เรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิลที่เล่าว่า ซาตานแปลงกายเป็นงู หลอกให้อีฟและอดัมกินผลไม้ต้องห้าม ทำให้ทั้งคู่ถูกขับออกจากสวนเอเดน จึงทำให้งูกลายเป็นสัญลักษณ์ของ ความล่อลวงและความชั่วร้าย นอกจากนี้ นักจิตวิทยายุคใหม่บางคนยังมองว่าสมองของมนุษย์มีพฤติกรรมความชั่วร้ายฝังอยู่ หนึ่งในนั้นคือ กามารมณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับแรงขับทางเพศ งูจึงถูกเปรียบเหมือนอวัยวะเพศชาย และชายที่มีความหมกมุ่นในกามารมณ์มากเกินไป ถูกมองว่าเป็น “งู” ที่แฝงความชั่วร้าย ในวรรณกรรมพื้นบ้านและความเชื่อโบราณไทย งูมักถูกเชื่อมโยงกับพลังลึกลับและความเจ้าเล่ห์ โดยเฉพาะงูใหญ่ที่สามารถสะกดหรือหลอกล่อเหยื่อได้ จึงถูกนำมาใช้เปรียบเทียบกับชายสูงวัยที่แสดงพฤติกรรมเจ้าชู้ คอยออดอ้อน ล่อลวงหญิงสาวอย่างแนบเนียนและแฝงไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม ตัวอย่างการใช้สนวน